เกี่ยวกับโรงพยาบาล
-:  ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลวิภาวดี  :-
 
            โรงพยาบาลวิภาวดี  เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง จัดเป็นพื้นที่ในเขตทุรกันดารตั้งอยู่เลขที่ 172 หมู่ที่ 4 ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยสหกรณ์นิคมท่าฉางได้จัดสรรที่ดินในพื้นที่สำหรับส่วนราขการจำนวน 34 ไร่
             พ.ศ.2543 สส.นิภา  พริ้งศุลกะ  รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงพยาบาลวิภาวดี จำนวนเงิน 19 ล้านกว่าบาท และได้ก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 
             พ.ศ.2543 สส.นิภา  พริ้งศุลกะ  รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงพยาบาลวิภาวดี จำนวนเงิน 19 ล้านกว่าบาท และได้ก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 
เนื่องจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณ  ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการู้ป่วยได้จนกระทั่งวันที่ 11 มิถุนายน 2545 สำนักงานสธารณสุขอำเภอวิภาวดี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้จัดประชาคมแกนนำสุขภาพโรงพยาบาลโรงพยาบาลวิภาวดี  เพื่อหาแนวทางการเปิดโรงพยาบาลโดยมอบหมายให้ นายแพทย์ศราวุธ  เรืองนาม  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าฉางพร้อมคณะทำงาน  คัดเลือกผู้นำชุมชนและประชาชนนในอำเภอวิภาวดีเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาล จำนวน 34 คน 
          และเมื่อ 24 ตุลาคม 2545 โรงพยาบาลวิภาวดีได้ทำการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ โดย นายแพทย์ ณัฐวุฒิ  ประเสริฐสิริพงษ์ปฏิบัติการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธานในพิธีโดยให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก
          ซึ่งได้รับการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์รวมถึงบุคลากรจากท่าฉาง จนกระทั่งถึงเดือน พฤกษภาคม 2546 จังหวัดได้จัดสรรบุคลากรรวมทั้งแพทย์มาประจำที่โรงพยาบาลวิภาวดี และเปิดบริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24 ชั่วโมงจนถึงปัจจุบันโรงพยาบาล

 
 

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลวิภาวดี 

 

วิสัยทัศน์
องค์กรมาตรฐาน  การจัดการสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง  อย่างยั่งยืนภายในปี 2564
 
พันธกิจ
1.     ให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน
2.     มีการบริหารจัดการทรัพยากร (คน เงิน ของ) ที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
3.     ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
4.     สร้างเสริมสิ่งแวดล้อมให้เกิดความปลอดภัยและเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
5.       สร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ประเด็นยุทธศาสตร์
1.     พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
2.     พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากร(คน เงิน ของ) และสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
3.     พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัยและเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
4.     ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพ

ค่านิยม : มีมาตรฐาน บริการด้วยใจ

เข็มมุ่ง

  1. พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ Stroke COPD
  2. พัฒนาระบบ RDU
  3. พัฒนาระบบ 2P Safty
  4. พัฒนาระบบบริหารการเงินให้เป็นตามแผน (Planfin)

 
 

ผลงาน